วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อิทธิบาท ๔


                                                             ...อิทธิบาท ๔...

...คำว่า อิทธิบาท เป็นศัพท์ในทางพุทธศาสนา หมายถึงฐานแห่งความสำเร็จ ซึ่งต้องมีคุณธรรม 
...เป็นเครื่ิองทำให้บรรลุถึงความสำเร็จตามที่ตนพึงประสงค์ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด จะต้องทำตน
...ให้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมายตาม อิทธบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 
...๔ ประการดังนี้คือ...

...๑.ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น  ความต้องการที่จะทำในสิ่งนั้นๆ

...๒.วิริยะ ความขยันหมั่นความพากเพียรในสิ่งนั้นๆ

...๓.จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้นๆ

...๔.วิมังสา ความหมั่นไตร่ตรอง สอดส่อง ค้นหาเหตุผลของสิ่งนั้นๆ

...ธรรม ๔ ข้อนี้ย่อมต้องต่อเนื่องกัน และแต่ละข้อก็มีหน้าที่เฉพาะของตน...

...ฉันทะ คือความพอใจ ความต้องการที่จะทำ  ใฝ่ใจรักที่จะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ...
...และปารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป...ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุด ที่จริงมนุษย์
...เราควรจะได้ข้อนี้เป็นกำลังใจ...อันดับแรก ที่จะทำให้เกิดคุณธรรมในข้อต่อไปทุกๆข้อ...

...วิริยะ คือความเพียร หมายถึง การขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง
...อดทน ไม่ท้อถอย กระทำติดต่อกันไม่ขาดตอนเป็นระยะยาว จนประสบกับความสำเร็จ 
...คำนี้มีความหมายของ ความกล้าหาญเจือปนอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง...

...จิตตะ คือความคิด หมายถึง การตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่กระทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด...
...จิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่าน ไม่ทอดทิ้งในสิ่งนั้นๆไปจากความรู้สึกของตน ทำสิ่งซึ่ง
...เป็นจุดประสงค์นั้นๆ ให้เด่นชัดอยู่ในใจเสมอ นั่นคือการมี  "สมาธิ" นั่นเอง...


...วิมังสา คือความไตร่ตรอง คือหมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และ
...ตรวจสอบ มีการวางแผน วัดผล คิดค้นแก้ไขปรับปรุงผลของความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
...ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นตลอดเวลา  นั่นก็คือความหมายของคำว่า..." ปัญญา "


                                                         ...อ.อรุณ ลำเพ็ญ...

...ต่อจากนี้จะเป็นเรื่องจริงในอดีต ที่ท่าน อ. อรุณ ลำเพ็ญ ได้ลงไว้ในนิทานโหราศาสตร์ของท่าน
...ผมได้คัดลอกออกมาเพื่อให้ทุกคนที่จะศึกษาวิชา "โหราศาสตร์ " ได้สดับรับฟังกัน...ครับ...

...มีเรื่องที่เกี่ยวกับอานุภาพแห่งอิทธิบาท ๔ อยู่เรื่องหนึ่งเป็นเรื่องจริงมีตัวมีตนอยู่...
คนเก่าๆ ท่านเล่า...สู่กันฟังว่า...

...ในสมัยพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ มีครูดนตรีอยู่ท่านหนึ่ง มีฝีมือเป็นเอกอยู่ในกรุง มีลูกศิษย์ลูกหา
มาฝากตัวเล่าเรียนด้วยเป็นอันมาก แม้แต่จ้าวนายในราชนิกูล...ครูดนตรีท่านมีบุตรชายอยู่คนหนึ่งเป็น...
คนมีกรรม จักษุทั้งสองข้างบอดสนิท อายุเพิ่งจะย่าง ๑๐ ขวบเศษ เพลาศิษย์มาเรียนต่อเพลงซ้อม
เพลงท่านก็ไล่ลูกชายให้ลงมาเล่นใต้ถุนเรือนเสียเสมอทุกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดมาหลายปี กระทั่งอยู่
มาคราวหนึ่ง...เป็นวันไหว้ครู ซึ่งจะเป็นวันครอบครูแก่ศิษย์ผู้จบการเรียนแล้ว ตอนนั้นยังเช้าอยู่บนเรือนว่างผู้คน  มีแต่เครื่องดนตรีวางจัดไว้รับพิธี ตัวท่านครูดนตรีลงมาดูการงานอยู่ในโรงครัว..

...เหมือนเกิดเหตุอัศจรรย์เสียงฆ้องวงบนเรือนลั่นบันลือบรรเลงเป็นเพลงกระหึ่มท่วงทำนองไพเราะ
เพราะหนักหนา ได้ยินกันทั่วบริเวณบ้าน ท่านครูได้ยินถนัด ขนลุกซู่ตัวชา จะฟังเป็นฝีมือศิษย์เอก
คนโต คนหนึ่งที่สอนไว้ก็ผิดที่ เพราะมองไม่เห็นตัวว่า จะมีใครสามารถมีฝีมือถึงขั้นนี้ จะว่าเป็นผู้อื่น
ก็มิใช่ เพราะทางเล่นเป็นทางเดียวของท่านครูที่สอนศิษย์ไว้ทั้งนั้น สำเนียงฆ้องวงนั้นทั้งตีกด ตีเปิด
เสียงทุ้มกังวาลชัดทุกไม้ ทั้งลูกล้อ ลูกขัดพริ้วพราวครบเครื่อง จะมีคนฝีมือถึงเช่นนี้ได้ ก็คือตัวท่าน
ครูคนเดียวเท่านั้น...

...ท่านครูก้าวแทบจะวิ่งขึ้นเรือน พอล่วงเข้าประตูเรือน ก็เห็นผู้บรรเลงนั่งองอาจอยู่กลางวงฆ้อง...
แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เหมือนถูกผีหลอก ท่านสงบใจฟังจนเพลงจบก่อน ก็ถลาเข้ากอดหนุ่มผู้
บรรเลงไว้แน่นเรียกได้คำเดียวว่า "ลูกพ่อ " จูบแก้มซ้ายขวาจนน้ำตาความตื้นตันเปื้อนสองแก้ม...
...เจ้าหนุ่มลูกชายผู้ตาบอดทั้งสองข้างนั่นเอง...
...ครั้นซักไซร้ไล่เลียงเอาความ ลูกชายก็เล่าว่า ทุกครั้งที่พ่อไล่ลงมาเล่นใต้ถุนบ้าน ก็ไม่รู้จะเล่นอะไร?
เพราะตามองอะไรไม่เห็น ได้แต่นั่งฟังเสียงพ่อต่อเพลงสอนศิษย์อยู่บนเรือนทุกวัน เป็นเดือน เป็นปี
จนจดจำทำนองขึ้นใจ เมื่อรำคาญอยู่เฉยๆ จึงไปเก็บกะลามะพร้าวมาวางแทนลูกฆ้อง ขณะพ่อสอน
ไปก็ตีตามไปทุกวัน ปีแล้วปีเล่า จนแม่นยำขึ้นใจ ตกตอนกลางคืนพ่อหลับแล้ว ก็คลานออกมาแอบ
เข้าวงฆ้อง เอามือจับต้องใช้นิ้วเคาำะเบาๆ ซ้อมเพลง จนคล่องแคล่วชำนาญไม่ติดขัดจนแทบจะมองเห็นลูกฆ้องทุกลูก มาวันนี้เป็นวันไหว้ครูจึงแสดงฝีมือให้พ่อครอบให้เช่นศิษย์อื่นๆเขาบ้าง...

...บุตรชายตาบอดของท่านครูผู้นี้ชื่อ "ทั่ว " ต่อมาเป็นนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือทั่วกรุงสยาม ได้
ตำแหน่งในกรมมหรสพหลวงเป็น"จางวางทั่ว "และมีลูกศิษย์ลูกหาเต็มเมืองเช่นเดียวกับท่านครูผู้พ่อ
ดูเหมือนชีวิตท่านจะอยู่มาจนกระทั่งสงครามญี่ปุ่น แต่ชื่อเสียงท่านยังกึกก้องมาจนทุกวันนี้...

...เรื่องนี้ชี้ชัดให้เห็นได้ว่า...หากบุคคลใดมี อิทธิบาท ๔ แล้วไซร้...
...บุคคลนั้นย่อมต้องประสบกับความสำเร็จในสีิงที่ตนพึงปารถนาได้อย่างแน่นอน...
...พบกับบทความ + บทเรียน + นิยายเรื่องจริง ฯลฯ ได้ในตอนต่อไปนะครับ...สวัสดี...










  


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น